แก้ไขปัญหาเครื่องปั่นเลือดไม่สมดุล ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ

Last updated: 11 มี.ค. 2567  |  656 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Balanced_Imbalanced_Rotor

 

เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) เป็นเครื่องมือแพทย์ที่นำไว้ปั่นแยกเลือด, ปัสสาวะ ฯลฯ การทำให้เครื่องปั่นมีความสมดุลกัน (Balance) ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะทำให้ค่าออกมาได้แม่นยำขึ้น และทำให้ผู้ใช้งานมีความปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากหากทำการปั่นโดยที่เครื่องปั่นเลือดไม่มีการ Balance กัน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของตัวเครื่อง ทำให้ตัวเครื่องได้รับความเสียหาย และอาจยังทำให้ผู้ใช้งานได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน


โดยในบทความนี้เราจะสอนวิธีให้ท่านสามารถใช้งานเครื่องปั่นเลือดได้อย่างถูกวิธี (ทำให้เครื่องมีความ Balance) เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเครื่องปั่นเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
 

ขั้นตอนที่ 1 : เลือกหัวปั่นที่เหมาะสมกับตัวอย่างที่ต้องการจะปั่น

ก่อนการจะทำให้ตัวเครื่องปั่น Balance ผู้ใช้งานจะต้องมั่นใจก่อนว่าหัวปั่นที่เลือกมา สามารถใช้ในการปั่นกับตัวอย่างที่ผู้ใช้ต้องการจะปั่นได้

Rotor เป็นส่วนประกอบของเครื่องปั่นเลือดที่คอยยึดกับแกนมอเตอร์ และมีหน้าที่ในการบรรจุหลอดตัวอย่างที่ต้องการ

Rotor ของเครื่องปั่นเลือดแต่ละชนิดก็จะถูกออกแบบมาเพื่อให้จุหลอดตัวอย่างตาม

โดยตัวอย่างประเภทของ Rotor คือ

Rotor สำหรับใช้งานปั่นตกตะกอน, ปั่นเลือด รวมถึงปั่นปัสสาวะ ทั่วไป จะใช้หัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor หรือ Swing Out Rotor

Rotor สำหรับใช้ในงานปั่นหาเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น โดยจะรองรับหลอด Capillary ได้ อย่างน้อย 24 หลอด (มาตรฐานของเครื่องปั่นฮีมาโตคริต)

และนอกจากนี้ยังมี Rotor ที่ใช้สำหรับงานปั่นล้างเซลล์อีก 

ดังนั้น ก่อนที่จะทำการปั่นเหวี่ยง ผู้ใช้งานควรเข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการปั่นอะไร, ปั่นทีละจำนวนมาก หรือน้อย, หลอดตัวอย่างที่ใช้ในการปั่นเป็นแบบหลอดสั้น (13x75mm) หรือ หลอดยาว (13x100mm) เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ทำความเข้าใจกับหัวปั่นที่ใช้งาน และตรวจเช็คความเรียบร้อยของ Tube ตัวอย่าง, Tube Holder และ Tube Adapter

โดยทั่วไป หัวปั่น(Rotor) โดยเฉพาะ Fixed Angle Rotor จะมีช่องสำหรับใส่หลอดทดลอง แต่ช่องดังกล่าวจะถูกใส่ไปโดย “Tube Holder” เปรียบเสมือนหลอดที่จะมีหน้าที่เสมือนเป็นภาชนะที่มีไว้เพื่อเป็นที่ใส่หลอดตัวอย่าง (ตามภาพ)

นอกจากนี้ในบางกรณี หากผู้ใช้งานต้องการใช้งานต้องการไปปั่นเลือด และมีหลอดเก็บเลือด 2 ขนาด คือแบบ 13x75mm และ 13x100mm อาจจะทำให้ไม่สามารถใช้หัวปั่นเดียวกันได้

 



ภาพของ Rotor ซึ่งท่านจะสังเกตได้ว่า ในแต่ละช่องจะถูกใส่ไปด้วยวัสดุที่ชื่อว่า “Tube Holder” ไปทั้งหมดแล้ว ซึ่ง Tube Holder จะทำหน้าที่ในการเป็นที่รองรับหลอดตัวอย่าง



 



ต่อมา เมื่อเราได้หลอดทดลองที่ต้องการ ก็สามารถทำการใส่หลอดทดลองเข้าไปใน Tube Holder ได้เลย

 




แต่ในบางครั้ง เมื่อผู้ใช้งาน ไม่ได้มีการใช้หลอดตัวอย่างเพียงแค่ขนาดเดียว (ในกรณีที่ปั่นเลือดและใช้หลอดตัวอย่าง 13x75 mm (หลอดสั้น) และ 13x100 mm (หลอดยาว) จากภาพข้างต้น จะเป็นตัวอย่างของการใส่หลอดยาว 13x100 mm ลงใน Tube Holder ซึ่งจะมีความพอดี

ในกรณีที่ท่านใช้หลอดสั้น 13x75 mm ลงใน Tube Holder ด้วยขนาดของหลอดสั้น ทำให้หลอดจมลงไปใน Tube Holder ซึ่งจะทำให้ยุกยากต่อการนำหลอดตัวอย่างขึ้นมา โดยหลังจากปั่นเสร็จต้องทำการใช้ Forceps คีบขึ้นมา เนื่องจากไม่สามารถใช้นิ้วหยิบขึ้นมาได้



ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตจึงมักมีการผลิต “Tube Adapter” ขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใส่หลอดทดลองที่ต้องการให้มีขนาดและความสูงที่พอดี เพื่อให้สามารถหยิบหลอดขึ้นมาได้อย่างสะดวก

                            

                 ภาพ Tube Adapter                             ภาพการใส่ Tube Adapter พร้อม 13x75 ลงใน tube holder

 

ขั้นตอนที่ 3 : ชั่งน้ำหนักหลอดเก็บตัวอย่างให้มีเท่ากันและใส่หลอดตัวอย่างในหัวปั่น (Rotor)

หลังจากที่ผ่านขั้นตอนแรก (เลือกหัวปั่นให้ถูกต้องกับตัวอย่าง) ขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการบรรจุตัวอย่างลงไปในหลอด (Tube) โดยต้องให้มั่นใจว่าหลอดตัวอย่างที่จะนำมาใส่ในหัวปั่น มีน้ำหนักเท่ากันเพื่อให้เครื่องปั่น Balance กัน

การปั่นเหวี่ยงโดยที่ใส่หลอดตัวอย่างที่ไม่เท่ากัน จะทำให้เครื่องเกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งในบางกรณีถ้ามีการสั่นสะเทือนมาก อาจทำให้เครื่องเคลื่อนที่หรือหงายท้องได้เลย (เกิดขึ้นได้ยาก) โดยท้ายที่สุดอาจก่อให้เกิดความอันตรายต่อผู้ใช้งานเอง

ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เนื่องจากเครื่องปั่นเลือดในปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีระบบตรวจสอบความสมดุล ซึ่งใช้อุปกรณ์ Imbalance Sensor เป็นตัวคอยดักจับ ซึ่งถ้าเกิดการสั่นสะเทือนของตัว Rotor เกิดขึ้น Rotor จะสั่นไปกระทบกับตัว Imbalance Sensor และตัว Sensor นี้จะส่งสัญญานไปถึงตัวเครื่อง ให้เครื่องหยุดการทำงาน)

 

ขั้นตอนที่ 4 : เช็คให้มั่นใจว่าหลอดที่ใส่ไปมีความสมดุลกัน

ผมเชื่อว่าผู้ใช้งานเครื่องปั่นเลือด ย่อมเข้าใจกลไกการทำงาน และพยายามที่จะทำให้หลอดตัวอย่างที่ใส่ไป มีความสมดุลอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น ต้องทำงานแข่งกับเวลา จึงทำให้ต้องมีการเร่งการทำงานมากขึ้น จนอาจเกิดความผิดพลาดได้ หรือ บางทีทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดอาการตาลาย จนทำให้บางทีเข้าใจว่าหลอดตัวอย่างที่ใส่ไปมีความสมดุล (Balance) แล้ว แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เป็นต้น

ดังนั้น ผมจึงยกตัวอย่างการใส่หลอดแบบ Balance กับ Imbalance มาให้ชม ซึ่งหลักการง่ายที่สุดคือหากท่านใส่หลอดลงไปในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ต้องมีการใส่หลอดที่มีน้ำหนักเท่ากับหลอดแรกลงไปในหลอดที่อยู่ตำแหน่งตรงข้ามเสมอ

 

 

สำหรับรูปแรกที่ท่านได้เห็นจะเป็นเพียงรูปตัวอย่างการทำให้หัวปั่นมีความสมดุล สำหรับหัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor โดยวงกลมสีแดงหมายถึงช่องที่มีการใส่หลอดตัวอย่าง และ วงกลมสีดำหมายถึงช่องที่ไม่ได้มีการใส่หลอดทดลอง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี  

 



สำหรับรูปที่สองจะเป็นรูปตัวอย่างการทำให้หัวปั่นมีความสมดุล สำหรับหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่นกัน ตามความสะดวกของผู้ใช้งาน โดยเบื้องต้นผู้ใช้งานที่ใช้หัวปั่นแบบ Swing Out Rotor จะไม่สามารถใส่ Bucket เพียง 2 ชิ้นได้ เพราะจะเกิดการไม่สมดุล ดังนั้นทุกการปั่นเหวี่ยงจะต้องมีการใส่ Bucket ไว้ 4 ชิ้นเสมอ

 

ขั้นตอนที่ 5 : ทำการปั่นเหวี่ยง

หลังจากเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนที่กล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ใช้งานก็สามารถมั่นใจได้ว่าตัวอย่างที่ใส่ไปมีความสมดุลกัน ก็ถึงเวลาที่จะสามารถปั่นเหวี่ยงตัวอย่างตามที่ต้องการได้เลย

ซึ่งในการตั้งค่าความเร็วรอบ (RPM, RCF) หรือตั้งเวลาการปั่น ขึ้นอยู่กับตัวอย่างและวัตถุประสงค์ในการปั่น โดยในแต่ละวัตถุประสงค์ก็จะมีการตั้งค่าที่ต่างกัน

ที่สำคัญที่สุดคือต้องทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด รวมถึงการใส่อุปกรณ์ Safety สำหรับความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และระหว่างปั่นเหวี่ยง ควรมีการสังเกตสถานการณ์เสมอ ว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ หากมีอาการสั่นสะเทือนอย่างมาก ควรกด Stop และกดเปิดฝา เพื่อหาสาเหตุ ว่าเป็นเพราะหลอดตัวอย่างที่ใส่ มีความไม่สมดุลกัน หรือเป็นตัว Rotor, Motor หรือ Imbalance Sensor ที่มีปัญหา โดยถ้าเป็นกรณีหลอดตัวอย่างไม่สมดุล ทางผู้ใช้งานสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้เลย แต่หากเช็คแล้วว่าหลอดตัวอย่างที่ใส่ไป มีความสมดุลกันอยู่แล้ว อาจเกิดจากอะไหล่ข้างต้น ของเครื่องปั่นเหวี่ยง จะต้องนำกลับมาให้ช่างเช็คเพิ่มเติมต่อไป  


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้