เครื่องปั่น PRP เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน?

Last updated: 11 มี.ค. 2567  |  906 จำนวนผู้เข้าชม  | 

TD5B_SENOVA

การบำบัดโดยใช้ พลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น  (Platelet-rich Plasma หรือ PRP) เป็นการบำบัดทางเลือกที่มีประโยชน์ในหลายแง่มุม โดยจะมีตั้งแต่การที่ช่วยบำบัดผมร่วง (ทำให้จุดที่ไม่มีผมเริ่มกลับมามีผม หรือจากจุดที่ผมร่วง จะเริ่มกลับมามีผมขึ้นเรื่อย ๆ) หรือแม้กระทั่งในวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีนักกีฬาดังอย่าง Rafael Nadal ที่เคยใช้การบำบัด PRP ฉีดเข้าหัวเข่าตัวเอง เพื่อทำให้อาการดีขึ้น และบรรเทาอาการบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่ง Joel Embiid นักบาสเก็ตบอลชื่อดังจาก Philadelphia 76ers ที่ก็ได้มีการใช้ PRP เข้ามาช่วยในอาการบาดเจ็บข้อเข่า ด้วยเช่นกัน

โดยการใช้ PRP ในการบำบัด ถือว่าเป็นสิ่งที่ปลอดภัย(ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของบุคลากรทางการแพทย์) เนื่องจากว่า PRP หรือพลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้นนั้น ไม่ใช่วัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่มันคือองค์ประกอบที่อยู่ในเลือดของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว

ดังนั้นในการเข้ารับบำบัด หลักการโดยทั่วไปคือ บุคลากรทางการแพทย์จะทำการเจาะเลือด และนำเลือดของผู้เข้ารับการบำบัด มาใส่ในเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) เพื่อทำการปั่นแยกส่วนประกอบของเลือด โดยหลังจากปั่นเหวี่ยง เลือดจะมีการแบ่งเป็นหลาย ๆ Layer ซึ่งหากใครอยากเข้าใจว่าเลือดมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ทางเราเคยมีเขียนบทความเอาไว้แล้ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ซึ่งหนึ่งในส่วนประกอบของเลือดที่จะถูกแยกออกมา ก็คือ PRP นั่นเอง ทำให้ขั้นตอนต่อมาก็คือการที่ผู้บำบัดดูดเอา PRP ออกมาและทำการฉีดไปในส่วนที่ต้องการ (ตามวัตถุประสงค์)

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) เป็นเครื่องที่มีความหลากหลาย อาจจะทำให้หาเครื่องปั่นเลือดที่ถูกใจเพื่อนำไปใช้ในงาน PRP ได้ยาก บทความนี้จึงอยากจะแนะนำข้อสังเกตุให้ผู้อ่านได้ทราบเบื้องต้น เพื่อนำไปประกอบกับการซื้อเครื่องปั่นเลือด PRP ได้อย่างถูกใจ

ในการเลือกเครื่องปั่นเลือด PRP จะมีหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึง

1.ความเร็วรอบ

Speed (RPM) และ G-Force (RCF, แรง G) เครื่องปั่นเลือดที่เลือกมาใช้จะต้องเป็นเครื่องที่สามารถปั่นได้ในความเร็วรอบที่สามารถปั่นอยู่ในช่วงที่จะทำให้องค์ประกอบของเลือดถูกเหวี่ยงออกมาแล้วมี PRP ออกมาให้เห็นได้

ซึ่งความเร็วรอบและนาทีในการตั้งค่า ขึ้นอยู่กับเทคนิคและตัวอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการปั่น (PRP Kits) ซึ่งจะอยู่ที่ความเร็ว 1500-3500 RPM ถึง 10-15 นาที

2.ความจุ

เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) ควรที่มีขนาดความจุเพียงพอที่จะสามารถใส่เลือดตามที่ต้องการได้ ซึ่งขนาดความจุในความหมายนี้คือหมายถึงขนาดความจุในหัวปั่น (Rotor)

3.ง่ายต่อการใช้งาน

เครื่องปั่น PRP ที่นำมาเลือกใช้ ควรมีวิธีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติงานและดูแลรักษา

4.ความปลอดภัย

ตรวจสอบ Spec ของตัวเครื่องปั่นเลือดที่ต้องการจะซื้อ ว่ามีคุณสมบัติในด้าน Safety หรือไม่ เช่น มีการตัดการทำงานของตัวเครื่อง หากเครื่องเกิดการไม่สมดุล, เครื่องจะไม่เริ่มทำงานหากมีการเปิดฝาเครื่องปั่นอยู่ ฯลฯ

5.ราคา

เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และผู้ใช้งานควรจะซื้อสินค้าที่ดีที่สุดภายในงบที่ผู้ใช้งานมี เนื่องจากเครื่องที่มีคุณภาพสูง มักมีการรับประกันมากกว่าเครื่องทั่วไป และมักมีอายุการใช้งานที่สูงกว่าอีกด้วย ดังนั้นการลงทุนซื้อเครื่องคุณภาพสูง ซึ่งถึงแม้จะมีราคาสูง ก็ดีกว่าที่ซื้อเครื่องที่ราคาถูกมาก แต่ต้องส่งซ่อมบ่อย หรือท้ายที่สุด อะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนมีราคาไม่คุ้มที่จะซ่อม จนต้องซื้อเครื่องใหม่อยู่ดี

ทั้งนี้ ราคาไม่ได้เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพเสมอไป เนื่องจาก เครื่องปั่นที่มีราคาถูก ก็เป็นเครื่องปั่นที่มีคุณภาพได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้งานควรอ่าน Spec ของตัวเครื่องปั่นเลือดอย่างละเอียด และดูความน่าเชื่อถือของผู้ขายและผู้ผลิต ว่าสามารถมีการรับประกันอะไหล่ให้ได้หรือไม่

เครื่องปั่นเลือด / เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน

 



เครื่องปั่นเลือดทั่วไป จะสามารถใช้ในการเตรียม PRP ได้ และราคาจะถูกกว่าเครื่องปั่นเลือดแบบตั้งพื้น (Floor Standing Centrifuge) อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งหากผู้ใช้งานได้ทำการประเมินและพบว่าไม่ได้มีความต้องการที่จะปั่นใน Volume ที่เยอะ ก็คงไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องซื้อแบบตั้งพื้น

เครื่องปั่นเลือดชนิดหัวปั่น Micro

ในทางปฏิบัติ เครื่องปั่นเลือดแบบ Microcentrifuge ก็สามารถใช้เพื่อเตรียม PRP ได้ แต่ในความเป็นจริงไม่ค่อยมีการใช้กันเท่าไร เนื่องจาก ปริมาณที่ได้จากการเตรียมต่อครั้งนั้นมีปริมาณที่น้อยมาก

เครื่องปั่นเลือดชนิดตั้งพื้น



เป็นเครื่องปั่นเลือดที่มีขนาดใหญ่ สามารถจุตัวอย่างได้เยอะ ซึ่งหากผู้ใช้งานมี Volume เป็นจำนวนมาก เครื่องประเภทนี้จะเหมาะ

อย่างไรก็ตามเครื่องประเภทนี้จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่องปั่นเลือดทั่วไป และโดยมากมักไม่มีความจำเป็นของผู้ใช้งานที่จะต้องเพิ่มงบประมาณเพิ่มเพื่อมาซื้อเครื่องปั่นเลือดชนิดตั้งพื้น


สรุป

เมื่อเลือกเครื่องปั่น PRP ผู้ใช้งานควรกางงบประมาณออกมา เทียบราคา, สเป็คของเครื่องปั่นเลือดที่เลือกออกมา และประเมิณว่าเครื่องไหนที่มีคุณภาพสูงสุดที่สามารถซื้อได้

โดยทั่วไปเครื่องปั่นเลือดปกติก็เพียงพอที่จะสามารถปั่น PRP ได้ตามที่ต้องการแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้อแบบเครื่องปั่นเลือดชนิดตั้งพื้น แต่หากลูกค้าเยอะจริง ๆ และต้องใช้ Volume เยอะมาก ผู้ใช้ก็อาจจะจำเป็นที่ต้องมองทางเลือกสำหรับเครื่องปั่นเลือดชนิดตั้งพื้น

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปเครื่องปั่นเลือดเป็นเครื่องที่สามารถใช้งานได้นานหลายปี อยู่ที่การดูแลรักษา รวมถึงวัสดุที่ใช้ในการสร้างเครื่องปั่น ซึ่งการซื้อเครื่องปั่นที่ถึงแม้จะมีราคาสูงกว่าเครื่องปั่นที่มีราคาถูก แต่หากมันทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลเรื่องการส่งซ่อมบ่อย ๆ  หรือไม่ต้องกังวลถึงการต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ทุก ๆ 3-4 ปี ผมคิดว่ามันคุ้มค่ากับการลงทุน


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้