การเลือกเครื่องปั่นเลือดให้เหมาะกับภาชนะ (หลอด) ชนิดต่างๆ

Last updated: 11 มี.ค. 2567  |  1488 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Tube_Centrifuge

Tube ชนิดต่างๆ และ ชนิดของ centrifuge และ Rotor ที่ใช้
                                                                                                                                                  
หลอด Micro tube (Eppendorf tube) ขนาด 2 ml (ซีซี) ใช้ปั่นแยกน้ำเหลือง (serum) เพื่อนำมาตรวจโดยผู้ป่วยมีเลือดน้อยหรือเจาะเลือดยาก ต้องใช้ Micro Centrifuge ซึ่งมีความเร็ว > 10000 รอบ/นาที (RPM) ใช้หัวปั่น (Rotor) ชนิด Fixed Angle Rotor           


                                                           
หลอด capillary (Hematocrit) tube ขนาด dia. 1.5 มม ยาว 75 มม ปั่นดูความเข้มข้นของเลือด ใช้ได้กับทุกแผนกที่เกี่ยวกับการตรวจ รักษาผู้ป่วย ต้องใช้ Hematocrit centrifuge ความเร็ว 11000 – 12000 รอบ/นาที ตั้งเวลาการทำงานได้ 5 นาที ใช้หัวปั่นชนิดจานและมีร่องขนาดเล็กพอดีกับขนาดของ หลอด capillary
     


หลอดเก็บเลือดแบบทั่วไป ขนาด (เส้นผ่าศูนย์กลางxความยาว) 16x100 มม (15 ml/ซีซี), ขนาด 13x100 มม (10 ml/ซีซี) ใช้ปั่นแยกน้ำเหลือง (serum) เพื่อนำมาตรวจ ใช้ clinical centrifuge ความเร็ว 2000-3000 รอบ/นาที นิยมใช้หัวปั่นชนิด Fixed Angle Rotor แต่อาจใช้แบบ swing-out rotor ได้เช่นกัน
 


หลอดปั่นปัสสาวะ (Urine) ขนาด (เส้นผ่าศูนย์กลางxความยาว) 16x120 มม (20 ml/ซีซี) ใช้เพื่อตกตะกอนสิ่งที่ไม่อยู่ในปัสสาวะและนำตะกอนมาส่องกล้องตรวจ ใช้ clinical centrifuge ความเร็ว 3000 รอบ/นาที ที่สามารถใส่หลอดที่มีความยาว 120 มม ได้นิยมใช้หัวปั่นชนิด Fixed Angle Rotor แต่อาจใช้แบบ swing-out rotor ได้เช่นกัน
 


ถาด Micro Plate ใช้ตรวจในงาน ภูมิคุ้มกัน (Serology/Immunology) เป็นถาดหลุมก้นรูป V หรือ U ซึ่งใช้ปริมาณน้ำเหลือง (Serum) และน้ำยาน้อย (เป็นหยด) ต้องใช้ Centrifuge ที่มี Adapter เฉพาะสำหรับ Micro Plate   
                     


หลอดสำหรับปั่นล้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและดูปฏิกิริยาการจับตัวของ Antigen-Antibody เพื่อหาความเข้ากันได้ของเลือดจากผู้บริจาคและเลือดผู้ป่วย (Cross Matching) ใช้ในแผนกธนาคารเลือด (Blood Bank) ต้องใช้ Cell Washer centrifuge (เครื่องปั่นล้างเซลล์)ที่มี่ Adapter สำหรับหลอดขนาด (เส้นผ่าศูนย์กลางxความยาว) 10x75 มม (7 ml/ซีซี) และ สามารถตั้งค่าการปั่นเป็นแรงเหวี่ยงสัมพัทธ์ (RCF หรือ g Force) ที่ 900-1000g เกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลใช้ – ปั่นล้างเซลล์ที่ 900-1000 gเป็นเวลา 45 วินาที่ , ปั่นดู comb test (ปฏิกิริยาการจับตัวของ Antigen-Antibody) ที่ 900-1000 gเป็นเวลา 15-30 วินาที่
 


ถุงเลือดและขวดเลือด (ขนาด 250-300 ซีซี) เพื่อบรรจุเลือดของผู้บริจาคโลหิตและนำมาปั่นแยกส่วนประกอบของเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง พลาสมา เกร็ดเลือด ให้ผู้ป่วยประเภทต่างๆ ต้องใช้ centrifuge ที่ควบคุมความเย็นและมี Bucket ขนาดใหญ่ (1000 ซีซี) ที่สามารถวางขวดเลือดหรือถุงเลือดได้       


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้