ฮีมาโตคริต และ ฮีโมโกลบิน แตกต่างกันอย่างไร? ทำไมถึงเกี่ยวข้องกัน?

Last updated: 11 มี.ค. 2567  |  1871 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Hemoglobin

ฮีมาโตคริต (Hematocrit) และ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นค่าที่พบเจอได้จากการตรวจเลือด ซึ่งค่าทั้งสอง มีการเกี่ยวข้องกัน แต่ให้ให้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงสุขภาพที่ต่างกัน  โดยบทความนี้จะอธิบายให้ท่านผู้อ่านให้ทราบว่า แต่ละค่าบ่งบอกถึงอะไร และทำไมทั้งสองค่านี้ถึงมีความเกี่ยวข้องกัน?

ฮีโมโกลบินคือ?

ฮีโมโกลบิน เป็นโปรตีนที่สามารถพบเจอได้ในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยมีหน้าที่คือการลำเลียงออกซิเจนไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ฮีโมโกลบิน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย เนื่องจาก หากไม่มี ฮีโมโกลบิน ก็จะไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ซึ่ง ค่าฮีโมโกลบิน ก็คือที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพในการลำเลียงออกซิเจนภายในร่างกายของเรา

วัดฮีโมโกลบินอย่างไร?

ท่านสามารถวัดฮีโมโกลบินได้หลากหลายวิธี โดยวิธีที่จะยกตัวอย่างมาในบทความนี้คือการวัดผ่านเครื่องวัดฮีโมโกลบิน แบบพกพารุ่น H7-3 ยี่ห้อ Konsung ซึ่งมีวิธีการวัดที่ไม่ยุ่งยาก โดยเพียง เจาะเลือดที่นิ้ว -> นำ Microcuvette มาดูดเลือด -> นำ Microcuvette มาใส่ในตัวเครื่องวัด -> รอ 3 วินาที และเครื่องจะได้ผลออกมา
 


ค่ามาตรฐานของฮีโมโกลบิน

ค่ามาตรฐานของฮีโมโกลบินนั้นจะแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของผู้ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งโดยทั่วไปเพศหญิงจะมีค่าอยู่ที่ 12-16 g/dL และ 13-17 g/dL สำหรับเพศชาย โดย g/dL ในที่นี้จะหมายถึง Gram per deciliter

ฮีมาโตคริตคือ?

ฮีมาโตคริตเป็นค่าที่นำไว้วัดสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงจากส่วนประกอบของเลือดทั้งหมด ดังนั้นค่าที่วัดออกมาได้จะเป็นหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์

เลือดจะมีองค์ประกอบอยู่หลายส่วน โดยแบ่งเป็น พลาสมา (Plasma) ประมาณ 55%, เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) ประมาณ 41%, เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell), เกล็ดเลือด (Platelet) รวมกับเซลล์เม็ดเลือดขาว จะได้ประมาณ 4%

วัดฮีมาโตคริตอย่างไร?

วิธีที่ผู้วัดจะทำการแยกส่วนประกอบของเลือด ก็สามารถทำได้โดยการที่นำตัวอย่างเลือดของผู้ที่เข้ารับการตรวจ มาทำการปั่นเหวี่ยง โดยใช้เครื่องปั่นเลือด (Hematocrit Centrifuge) และหลังจากที่ทำการปั่นเหวี่ยงเสร็จ เลือดจะมีการแบ่งแยกออกมาเป็นชั้น ๆ (Layer) อย่างชัดเจน และผู้ตรวจจะทำการเอาตัวอย่างเลือดที่แยกชั้นออกมาแล้ว มาวัดเปอร์เซ็นต์

ค่ามาตรฐานของฮีมาโตคริต

ค่ามาตรฐานของฮีมาโตคริต จะอยู่ที่ 35-47% สำหรับเพศหญิง และอยู่ที่ 39-50% สำหรับเพศชาย

จะเกิดอะไรขึ้นหากค่าฮีโมโกลบิน หรือ ฮีมาโตคริต มีค่าที่ต่ำหรือสูงกว่าปกติ?

ทั้งค่าฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบิน เป็นค่าที่สำคัญที่สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพของท่านได้ ซึ่งฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบิน ที่ต่ำ อาจเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่า ท่านกำลังมีภาวะ Anemia (ภาวะเลือดจาง) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินเพียงพอที่จะสามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง

ภาวะเลือดจาง (Anemia) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ รวมถึง การขาดธาตุเหล็ก, ขาดวิตามิน, การสูญเสียเลือด หรือการเป็นโรคเรื้อรังบางชนิด ฯลฯ

Hematocrit และ Hemoglobin ที่สูง อาจหมายถึงท่านกำลังมีภาวะ Polycythemia (ภาวะเลือดข้น) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป โดยภาวะดังกล่าวสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การสูบบุหรี่, อาศัยอยู่ในที่สูงกว่าน้ำทะเล (High altitude) หรืออาการทางแพทย์อื่น ๆ เป็นต้น

 



นอกจากนี้ฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบิน ยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญสำหรับการตรวจความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าค่าฮีมาโตคริตและฮีโมโกลบินที่สูง ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายหรือเส้นเลือดในสมองแตก (Stroke) ได้มากขึ้น

โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดได้จาก เซลล์เม็ดเลือดแดงที่มากกว่าปกติจนทำให้เลือดข้น, หนา และเหนียว จนทำให้ไปอุดตันในเส้นเลือดในที่สุด

สรุป

Hematocrit และ Hemoglobin เป็นค่าที่มีความสำคัญทั้งคู่ แต่ให้ข้อมูลที่ต่างกัน (ถึงข้อมูลจะมีความเกี่ยวข้องกันก็ตาม)

โดย Hemoglobin จะเป็นการวัด Hemoglobin ที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง, Hemoglobin ที่มาก

และ Hematocrit จะเป็นการวัดสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงจากส่วนประกอบของเลือดทั้งหมดโดยหน่วยที่ออกมาจะเป็นเปอร์เซ็นต์

 

ในเมื่อ Hematocrit เป็นค่าที่บ่งบอกถึงสัดส่วนเซลล์เม็ดเลือดในเลือด และ Hemoglobin บ่งบอกถึงค่า Hemoglobin ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำไมทั้ง 2 ค่าถึงให้ข้อมูลที่ต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองค่าก็ควรที่จะมีความสอดคล้องกัน?

จริงอยู่ที่ค่า Hematocrit และ Hemoglobin ควรจะมีค่าที่มีความสอดคล้องกัน แต่ก็มีในบางกรณีที่ถึงแม้มีค่า Hematocrit ที่มีสัดส่วนอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับมีค่า Hemoglobin ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน ในกรณีที่หากบุคคลท่านนั้นมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เล็กกว่าปกติ

เพื่อความมั่นใจ ในบางครั้งบุคลากรทางการแพทย์ถึงกับให้ตรวจทั้งค่า Hematocrit และ Hemoglobin เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำมากขึ้น เพื่อไปใช้ในการวินิจฉัยอาการ แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปค่าเพียงค่าเดียว ก็เพียงพอที่จะสามารถวินิจฉัยโรคได้แล้ว

ถึงแม้ว่าทั้งสองค่าจะสามารถใช้วินิจฉัยอาการที่คล้าย ๆ กันได้ เช่น อาการเลือดจาง (Anemia) หรืออาการเลือดข้น (Polycythemia) เป็นต้น



รู้หรือไม่?

ค่า Hemoglobin ของคนที่มีความปกติ จะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 1/3 ของ Hematocrit ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่แปลก เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า Hemoglobin อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง และ Hematocrit ก็คือสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงจากองค์ประกอบเลือด ดังนั้นค่าสองค่านี้ก็ควรที่จะมีความสอดคล้องกันด้วย

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีค่าของ Hemoglobin จะไม่ได้มีค่าอยู่ที่ 1/3 ของ Hematocrit เช่น ในกรณีของเด็กทารก, ขาดน้ำ หรืออยู่ในที่สูงกว่าน้ำทะเล ฯลฯ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หากท่านใดสนใจเครื่องตรวจวัดฮีโมโกลบินแบบพกพาสามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องตรวจวัดฮีโมโกลบินแบบพกพา

หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้