Last updated: 26 เม.ย 2566 | 620 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัญหาการใช้งานเครื่องปั่นเลือด
เครื่องปั่นเลือดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญที่พบเจอได้ทั่วไปในห้องแล็บของโรงพยาบาล, คลินิก หรือสภากาชาด ฯลฯ ซึ่งบุคลากรที่ใช้งานก็จะใช้เครื่องปั่นเลือดเพื่อปั่นแยกและนำผลที่ได้ออกมาวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป ตามเรื่องที่บุคลากรท่านนั้นกำลังทำอยู่
อย่างไรก็ตามการใช้งานเครื่องปั่นเลือดก็ไม่ได้ราบลื่นเสมอไป เฉกเช่นกับทุกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เครื่องปั่นเลือดก็มี Pain point เช่นกัน ที่ผู้ใช้งานสามารถพบเจอได้
และในบทความนี้ จะเป็นการกล่าวถึง Pain point ที่ผู้ใช้งานสามารถพบเจอได้บ่อยที่สุด
1. ใช้เวลาเยอะในแต่ละขั้นตอน
ในการปั่นเหวี่ยง บางเทคนิคก็ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที หรือในอีกเทคนิค ก็ใช้เวลากว่า 5 นาที หรือบางครั้งอาจต้องใช้เวลาเกิน 10 นาที เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการก็มีได้เช่นกัน และก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการปั่น จะต้องมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง, การชั่งน้ำหนักตัวอย่างให้เท่ากัน เพื่อให้ตัวเครื่องปั่นเลือด มีความ Balance และในเรื่องการตั้งเวลา, ตั้งค่าความเร็ว (RPM หรือ RCF) ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าการใช้งานเครื่องปั่นเลือด ถึงจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็มีหลายขั้นตอนที่อาจทำให้ผู้ใช้งานเสียเวลาไปมาก ในการปั่นแต่ละครั้ง
ดังนั้นผู้ผลิตในแต่ละเจ้าก็จะมีจุดเด่นที่สร้าง Product ออกมาให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด เช่น ในบางผู้ผลิตเลือกที่จะออกแบบหน้าจอ ออกมาเป็นแบบ Touch Screen เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน หรือบางเจ้าก็ยังคงเป็นแบบจอ Digital แต่เลือกปรับ Interface ให้ใช้งานง่ายขึ้น หรืออาจจะเพิ่ม Features เพื่อให้ตอบโจทย์กับการใช้งานของผู้ใช้งานได้มากที่สุด
2.การดูแลรักษาเครื่องปั่น
เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) เป็นเครื่องที่ต้องได้รับการดูแลรักษา&ทำความสะอาด อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นเครื่องที่ถูกใช้ปั่นเลือด หรือ ปัสสาวะ อยู่เป็นประจำ ทำให้ผู้ใช้งานต้องมีการระมัดระวังในการใช้งานอย่างสูง และรักษาความสะอาดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ หากไม่มีการระมัดระวัง
นอกจากนี้ผู้ใช้งานเครื่องปั่นเลือดยังต้องรู้จักสังเกต เครื่องปั่นอยู่เสมอ ว่ามีอาการอะไรที่ผิดปกติจากเดิมหรือไม่ เช่น มีการสั่นสะเทือนหว่างปั่น อย่างรุนแรง และเครื่องปั่นก็ไม่ได้ตัดการทำงาน ฯลฯ อาการเหล่านี้ หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการดูแล เช็คเครื่องอย่างต่อเนื่อง จะทำให้อายุการใช้งานของตัวเครื่องลดลงจากที่ควรจะเป็น
สำหรับหัวข้อนี้ ผมได้เขียนบทความแบบยาวไว้แล้ว หากใครสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
3.ความแม่นยำ
ค่าความแม่นยำของตัวเครื่องปั่นเลือด ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากเครื่องปั่นถูกตั้งค่าเอาไว้ที่ 12000 RPM แต่ค่าที่แท้จริงกลับออกมาที่ 11000 RPM จะทำให้ส่งผลต่อตัวอย่างที่ออกมาได้ค่าที่ไม่แม่นยำได้ ไม่ว่าผู้ใช้งานจะใช้ในงานวิจัยหรืองานในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อเครื่องปั่นเลือด ควรหาเครื่องปั่นเลือดที่มีความน่าเชื่อถือ มีการเคลมความแม่นยำของตัวเครื่อง และตอนที่ได้รับเครื่องมาแล้วก็ควรมีการตรวจเช็คความแม่นยำของเครื่องผ่านการสอบเทียบ (Calibration) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าค่าที่ออกมาเป็นค่าที่มีความแม่นยำสูง โดยบริษัทที่รับสอบเทียบจะทดสอบโดยการใช้เครื่อง Tachometer ในการวัดความเร็วรอบ
4.เครื่องปั่นที่สามารถรองรับการปั่นได้หลายประเภท
เนื่องจากในบางกรณี ผู้ใช้งานไม่ได้มีการปั่นตัวอย่างแค่ชนิดเดียว อาจมีการปั่นตัวอย่างหลายชนิด ซึ่งหากเป็นเครื่องปั่นที่ไม่ได้มีความอเนกประสงค์ ก็จะทำให้ผู้ใช้งานไม่มีทางเลือก ซึ่งก็หมายถึงว่า ต้องใช้เครื่องปั่นหลายเครื่องที่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกัน
ทว่าในบางเครื่อง ผู้ผลิตได้ออกแบบมาให้มีการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานเป็นอย่างมาก เช่น ProHospital PCV13A เป็นเครื่องปั่นหาเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น หรือเครื่องปั่นฮีมาโตคริต จากประเทศอังกฤษ ยี่ห้อ Centurion ซึ่งหัวปั่นสำหรับเครื่องตัวนี้นอกจากที่จะสามารถปั่นหลอด Capillary ได้ 24 หลอด แล้วยังสามารถปั่นหลอด Micro tube ได้อีก เป็นต้น
5.ราคาสินค้า
เครื่องปั่นเลือด มีตั้งแต่ราคาสูง จนถึงราคาต่ำ ซึ่งอยู่ที่งบประมาณของทางหน่วยงานที่ต้องการจะซื้อ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือควรเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในงบที่มี เนื่องจากเครื่องปั่นเลือดเป็นเครื่องที่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้นานหลายปี หากเลือกซื้อเครื่องโดยที่คำนวณแต่ราคาอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้นึกถึงเรื่องความคงทน ในท้ายที่สุดอาจจะมีปัญหาตัวเครื่องชำรุด หรือเสียหาย และท้ายที่สุดก็ต้องซื้อเครื่องใหม่ ซึ่งถ้าคำนวณแล้ว ตัดสินใจซื้อเครื่องที่มีคุณภาพขึ้นมาอีกหน่อย ตั้งแต่ตอนแรก อาจจะไม่เกิดปัญหานี้ขึ้นก็ได้
และนอกจากนี้เครื่องที่มีคุณภาพสูงและมีความคงทนสูง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ดีกว่าเครื่องที่มีคุณภาพต่ำกว่า เนื่องจากไม่ต้องมีการเปลี่ยนอะไหล่หรือส่งซ่อมบ่อย
ข้อสรุป ในการอุดปัญหา Pain points ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น สามารถทำได้โดยการที่ลงทุนกับการซื้อเครื่องปั่นเลือดที่มีคุณภาพ และมีการดูแลรักษาเครื่องอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ รวมถึงมีการสอบเทียบตัวเครื่องเพื่อให้มั่นใจว่าค่าที่ออกมาเป็นค่าที่มีความแม่นยำสูง รวมถึงการได้รับการฝึกฝนให้ใช้งานเครื่องได้อย่างถูกต้อง
20 มี.ค. 2566
28 พ.ค. 2567
20 ธ.ค. 2566
30 พ.ค. 2567