อุปกรณ์สำหรับใช้งาน ควบคู่กับเครื่องปั่นเลือด

Last updated: 31 พ.ค. 2567  |  158 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อุปกรณ์ใช้ควบคู่กับเครื่องปั่นเลือด

การใช้งานเครื่องปั่นเลือด ต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างที่ใช้งานควบคู่กัน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น

1. ถุงมือยาง

การใช้งานเครื่องปั่นเลือดจะต้องมีการจับหลอด Tube เลือด, Tube ปัสสาวะ อยู่เป็นประจำ ทำให้เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้งานต้องมีการรักษาความปลอดภัยและสุขอนามัยในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ 


2. Tube Adaptor

Tube Adaptor เป็นอุปกรณ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายๆกับ Tube Holder ซึ่งมีหน้าที่คือการช่วยให้สามารถรองรับการใส่หลอดขนาดที่มีขนาดเล็กลงมาได้ 

ตัวอย่างในการใช้งาน Tube Adaptor : ผู้ใช้งานมีการใช้เครื่องปั่นเลือด ซึ่งมีการใช้งานหลอดเก็บเลือดขนาด 13x100 mm มาโดยตลอด แต่ตอนนี้ต้องการใช้งานหลอดเก็บเลือดขนาด 13x75 mm ซึ่งในความเป็นจริงก็สามารถใช้งานได้ เพียงแต่หลอด 13x75 mm มีขนาดที่สั้นกว่า ทำให้หลอดเก็บเลือดจะจมใน Tube Holder ทำให้เวลาปั่นเสร็จ จะทำให้ยกหลอดเก็บเลือดขึ้นมาได้ยาก อาจต้องใช้ Forceps คีบขึ้นมา 

แต่ปัญหานี้จะหมดไปหากมีการใช้ Tube Adapter เข้ามาช่วย ซึ่งจะทำให้หลอดเก็บเลือด 13x75 mm ไม่จม และหยิบขึ้นมาด้วยมือได้ 

                                            


นอกจากนี้ Tube Adaptor ยังสามารถใช้ในกรณีที่หลอดตัวอย่างมีขนาดที่เล็กกว่า Tube Holder ได้ด้วย เช่น หัวปั่น Swing Out Rotor ที่เป็น Bucket สำหรับหลอดหรือกระปุก 50ml จะมีขนาดที่ใหญ่ หากผู้ใช้งานมีความต้องการจะใช้ปั่นหลอด 10-15 ml จะทำให้ไม่สามารถปั่นได้ เนื่องจากหลอดเก็บเลือดที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดของ Bucket มากนั่นเอง ซึ่งวิธีแก้คือการใช้ Tube Adaptor ที่สามารถทำให้จุหลอด 10-15 ml ได้ 


3. หลอดเก็บเลือด

แน่นอนว่าการใช้งานเครื่องปั่นเลือด สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือหลอดเก็บเลือด ซึ่งในการเลือกใช้ Tube จะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการใช้งาน



4.ขอบยางจานปั่น / PP Holding Tray

สำหรับหัวปั่นประเภท Hematocrit จะต้องมีขอบยางจานปั่นปิดล้อมรอบภายในจานปั่น เพื่อป้องกันมิให้ดินน้ำมันจากในหลอด Capillary กระเด็นออกมา ซึ่งโดยส่วนใหญ่การออกแบบของผู้ผลิตจากหลายแบรนด์ จะออกแบบมาให้มีขอบยางจานปั่น 

อย่างไรก็ตามในบางแบรนด์ได้มีการออกแบบให้เป็นพลาสติก (PP Holding Tray) โดยใส่ไปตามแต่ละช่องของจานปั่น (โดยปกติ Hematocrit จะถูกออกแบบมาให้มีขนาดความจุ 24 หลอด Capillary) ทำให้ในกรณีนี้จะมีการใส่ PP Holding Tray รอบจานปั่นทั้งหมดจำนวน 24 ชิ้น เพื่อทำหน้าที่เดียวกับขอบยางจานปั่นคือการป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของดินน้ำมัน โดยข้อดีก็คือสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย 

 

                 


5.จุกยางรองก้น (สำหรับ Tube Holder)

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้งานที่เจอปัญหาหลอดจมอยู่ใน Tube Holder และไม่สามารถใช้มือหยิบขึ้นมาได้ เนื่องจากจุกยางรองก้นมีหน้าที่ไว้เพื่อทำให้หลอดที่ใส่ลงไป ไม่จมอยู่ใน Tube Holder ซึ่งจะมีจุดประสงค์เหมือนกับ Tube Adaptor แต่จะมีความสามารถที่มีข้อจำกัดกว่า

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้