Last updated: 17 พ.ค. 2567 | 301 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อพูดถึงเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) อาจนึกถึงการใช้งานในห้องแล็บ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการปั่นวิเคราะห์ผลเลือด แต่ในความเป็นจริง เครื่องปั่นเลือดสามารถใช้ในงานคลินิกเสริมความงามได้เช่นกัน โดยอาจรู้จักในนาม “เครื่องปั่น PRP” ซึ่งจริง ๆ ก็คือเครื่องปั่นเลือดที่ใช้เพื่อที่จะแยกองค์ประกอบของเลือดออกมา เพื่อให้ได้ “PRP” (Platelet Rish Plasma) หรือพลาสม่าที่มีเกล็ดเลือดสูง โดยนำมาใช้ในการฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่เข้ารับการรักษา เพื่อให้จุดนั้น ๆ มีการฟื้นฟูได้ดีขึ้น
เครื่องปั่นเลือดแบบ PRP คืออะไร ?
เครื่องปั่นเลือดแบบ PRP ก็คือเครื่องปั่นเลือดทั่วไป เพียงแต่ว่าใช้หลอดเก็บเลือดแบบ PRP โดยจะเป็นแบบหลอด PRP Kits หรือหลอดเก็บเลือด PRP ทั่วไป
เครื่องปั่นเลือดแบบ PRP ราคาสูงไหม ?
เครื่องปั่นเลือดแบบ PRP โดยส่วนมากจะใช้งานเป็นแบบ Swing Out Rotor เนื่องจากจะสามารถดึงเอา PRP ออกมาได้ง่ายกว่า เพราะว่าเวลาปั่นเลือดแบบหัวปั่น Swing Out Rotor, Bucket จะมีการถูกเหวี่ยงให้อยู่ในแนวนอน
เครื่องปั่นเลือด PRP ต้องใช้หัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor หรือ Swing Out Rotor
เครื่องปั่นเลือดแบบ PRP สามารถใช้ได้ทั้ง Fixed Angle Rotor และ Swing Out Rotor แต่ก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
Fixed Angle Rotor
ข้อดีของการใช้หัวปั่น Fixed Angle Rotor PRP
1.ราคาถูกกว่า Swing Out Rotor
ข้อเสียของการใช้หัวปั่น Fixed Angle Rotor ในงาน PRP
1.อาจใช้ไม่ได้กับหลอด PRP Kits เนื่องจาก Fixed Angle Rotor จะมีความจุที่น้อย
2.เมื่อปั่นเสร็จเลือดจะมีลักษณะในการเรียงตัวที่ทำให้ดึงนำเอาชั้นของ PRP ออกมาได้ยากกว่า เมื่อเทียบกับ Swing Out Rotor
Swing Out Rotor
ข้อดีของการใช้หัวปั่น Swing Out Rotor สำหรับงาน PRP
1. สามารถจุหลอดเก็บเลือดที่ขนาดใหญ่ได้ ทำให้สามารถใช้งานกับ PRP Kits ได้ (ทั้งนี้ เพื่อความมั่นใจ ควรวัดขนาดของ PRP Kits และเทียบกับขนาดของช่องก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถใช้งานด้วยกันได้อย่างแน่นอน เนื่องจาก PRP Kits จะมีรูปทรงที่แตกต่างกันในแต่ละแบรนด์)
2. เมื่อปั่นเสร็จจะมีลักษณะในการเรียงตัวที่ทำให้สามารถดึงนำส่วนของ PRP ออกมาได้ง่ายกว่า
ข้อเสียของการใช้หัวปั่น Swing Out Rotor สำหรับงาน PRP
1. มีราคาสูงกว่า Fixed Angle Rotor
เครื่องปั่นเลือดแบบ PRP ต้องใช้หลอดเก็บเลือดชนิดใด ?
หลอดเก็บเลือดที่ใช้สำหรับงาน PRP โดยทั่วไปจะใช้เป็นแบบหลอดเก็บเลือดที่เรียกว่า “PRP Kits"
ซึ่งจะมีรูปทรงที่แตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตออกแบบ โดย PRP Kits จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหลอดเก็บเลือดทั่วไป ที่มีขนาด 13x75ml หรือ 13x100ml ซึ่งหลอด PRP Kits จะจุได้ตั้งแต่ 20-50ml ขึ้นกับดีไซน์ของหลอด ดังนั้น ส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้กับ Swing Out Rotor ที่จะมี Bucket ที่สามารถจุหลอดขนาดใหญ่ได้กว่า Fixed Angle Rotor
สรุป
เครื่องปั่นเลือด PRP ได้รับความนิยมในหมู่มากสำหรับในคลินิกเสริมความงาม เพราะว่า PRP (Platelet Rich Plasma) หรือที่แปลเป็นไทยคือ พลาสม่าที่มีเกล็ดเลือดสูง มี Growth Hormones สูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนส์ที่ทำให้ฟื้นฟูร่างกายได้ดี จึงได้มีคลินิกที่เสริมความงามหรือคลินิกฟื้นฟูสภาพร่างกาย ได้มีการบำบัด บำรุง ผู้เข้ารับการรักษาโดยใช้วิธี PRP มากขึ้น
เครื่องปั่นเลือด PRP สามารถเลือกใช้งานได้ทั้งแบบ Fixed Angle Rotor และ Swing Out Rotor ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี รวมถึงหลอดเก็บเลือดที่ต้องการใช้งาน ในกรณีที่ต้องการใช้หลอดเก็บเลือดชนิด "PRP Kits" โดยมาก จะต้องเป็นการใช้งานหัวปั่นแบบ Swing Out Rotor เนื่องจากสามารถจุหลอดที่มีขนาดใหญ่มากกว่า ในขณะที่หากต้องการใช้แบบหลอดเก็บเลือดทั่วไป จะสามารถใช้งานหัวปั่นแบบ Fixed Angle Rotor ได้ แต่ต้องแลกมาด้วยจำนวนการจุเลือดที่น้อย (เมื่อเทียบกับ PRP Kits) ในการปั่นแต่ละครั้ง รวมถึง การดึงเอา PRP ออกมาได้ยากกว่า เนื่องจากองศาในการปั่น ทำให้ชั้นของเลือดมีลักษณะเอียง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด PRP (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
19 เม.ย 2567
14 ธ.ค. 2566
30 พ.ค. 2567
19 มิ.ย. 2567