Last updated: 11 มี.ค. 2567 | 984 จำนวนผู้เข้าชม |
Cell Washer / Cell Washing Centrifuge / Serofuge
ทั้งสามชื่อที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเครื่องที่รู้จักกันในนามเครื่องปั่นล้างเซลล์ที่บุคลากรในธนาคารเลือดใช้งานกันในชีวิตประจำวัน และตัวเครื่องปั่นล้างเซลล์มี 2 ประเภท คือแบบ Automated และแบบ Manual ซึ่งในบทความนี้ คุณจะได้เข้าใจถึงความแตกต่างของตัวเครื่อง 2 ประเภทนี้มากขึ้น
จุดประสงค์ของตัวเครื่อง Cell washer / Cell washing centrifuge
ในการบริจาคเลือด ทางธนาคารเลือดจะมีต้องมีการสกรีนเลือดของผู้ที่บริจาคเลือด เพื่อให้ มั่นใจว่าเลือดที่มาบริจาคนั้นสามารถเข้าคู่กับผู้ที่รับบริจาคได้ หากเลือดผู้ที่บริจาคไม่สามารถเข้าคู่กับผู้ที่บริจาคได้ จะทำให้เลือดของผู้รับบริจาคอาจมีอาการเลือดจับกลุ่มกันหรือทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
เครื่องปั่นล้างเซลล์จะมีจุดประสงค์เด่นๆ ที่ผู้ใช้งานมักจะใช้อยู่ 2 ข้อ คือการปั่นอ่าน และการปั่นล้าง โดยทางการ
ประเภท Automated cell washer, Manual cell washer
เครื่องปั่นล้างเซลล์แบบ Manual จะหมายถึงเครื่องปั่นทั่วไปที่มี Feature หรือ Interface การใช้งานเช่นเดียวกับการใช้งานเครื่องปั่น Centrifuge ทั่วไป แต่ตรงกันข้าม ถ้าเป็น Automated Cell washer จะมีลักษณะ Interface ที่มีความซับซ้อนกว่า และมี Feature ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานธนาคารเลือด (Blood Bank) โดยเฉพาะ
ราคาของ Automated cell Washer ย่อมมีราคาสูงกว่าแบบ Manual Cell washer เนื่องจาก Feature ที่มีเยอะและสะดวกต่อการใช้งานกว่า เช่น ตัวเครื่องจะมี Feature การทำงานเป็น Flow ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ตั้งแต่การปั่น, เติมน้ำเกลือ (ปั่นล้าง), การเขย่าตัวหลอดทดลอง, การรินตัวอย่างที่ไม่ต้องการออก รวมถึงคำสั่งที่ทำให้ตัวเครื่อง Run การทำงานนี้อีกครั้งเป็น Loop
อย่างไรก็ตาม ไม่เสมอไปที่ผู้ใช้งานจะเลือกซื้อ Automated cell washer เนื่องจากว่าราคาที่สูงเกินกว่าความจำเป็น ผู้ใช้งานจึงหันมาสนใจ Manual Cell Washer กันมากขึ้น เพราะราคาที่จับต้องได้ และด้วยการใช้งานที่ไม่ได้ยุ่งยากกว่าแบบ Automated มากนัก
เครื่องปั่นล้างเซลล์แบบ Manual จะถือเป็นเครื่องปั่นธรรมดาชนิดหนึ่งที่ออกแบบหัวปั่นมาเพื่อใช้กับหลอด (Tube) ในงานปั่นล้างเซลล์โดยเฉพาะ แต่สำหรับลูกเล่น หรือ Feature การทำงาน จะไม่ได้มีความแตกต่างจากเครื่องปั่นเลือดทั่วไป ซึ่งในที่นี้คือผู้ใช้งานจะต้องทำการใส่แหละถอดหลอดตัวอย่างออกมาด้วยตัวเอง รวมถึงขั้นตอนในการปั่นอ่านหรือปั่นล้าง
ในทางตรงกันข้าม สำหรับเครื่องปั่นล้างเซลล์แบบ Automated จะถูกออกแบบมาเพื่อทำงานในธนาคารเลือดแบบครบวงจร ในชุดคำสั่งเดียว Program ของเครื่องจะ Run ตั้งแต่ Process แรกจนถึงสุดท้าย สำหรับหัวปั่น (Rotor) ของเครื่องปั่นล้างเซลล์แบบ Automated จะสามารถบรรจุหลอดได้หลาย Set และสำหรับขั้นตอนของการปั่นล้าง ตัวเครื่องก็จะทำด้วยตัวของมันเองเป็นแบบอัตโนมัติด้วยเช่นกัน สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องทำมีเพียงการป้อนชุดคำสั่งในตอนแรก และนำตัวอย่างที่ใส่ลงไปในเครื่องออกมา เมื่อใช้งานเสร็จ
Cross-matching
จุดประสงค์หลักของการทำ Cross matching คือการทดสอบถึงความเข้ากันได้ของเลือดผู้รับบริจาคและผู้บริจาค ซึ่งมนุษย์ของเรามีหมู่โลหิตหลายประเภท หากพูดถึงเพียงระบบ ABO ก็จะมีตั้งแต่ A, B, AB, O ซึ่งแต่ละหมู่เลือดจะสามารถรับและให้บริจาคได้ไม่เหมือนกัน โดยเราจะสามารถจำแนกได้จากการทราบถึง Antigen ของกรุ๊ปเลือดนั้น ๆ ตามตารางข้างต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเราทราบถึงความอันตรายของการเข้ากันไม่ได้ของเลือดแล้ว ทางโรงพยาบาลจึงต้องมีหน่วยงานคัดกรองที่คอยตรวจสอบความเข้ากันได้ของเลือดผู้รับและผู้ให้บริจาคเสมอ และเทคนิคในการตรวจ Cross matching จะเป็นการนำเซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้บริจาคและพลาสม่าของผู้รับบริจาคมาผสมกันและเข้าเครื่องปั่นล้างเซลล์เพื่อทดสอบดูว่ามีปฏิกิริยาหรือไม่ หากไม่มีการทำปฏิกิริยาต่อกัน หมายความว่าเลือดสามารถเข้ากันได้ แต่หากเลือดมีปฏิกิริยาที่ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis) หรือ การเกาะตัวกันของเลือด (Agglutination) จะหมายความว่าเลือดของทั้งผู้ให้และผู้รับบริจาคไม่สามารถเข้ากันได้ และต้องหาผู้บริจาคใหม่
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากท่านใดสนใจเครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) สามารถเข้าชมสินค้าได้ที่ได้โดยการคลิ๊กลิงค์ :> เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge)
หรือติดต่อได้ที่ LINE : @medinter
28 พ.ค. 2567
20 ธ.ค. 2566
30 พ.ค. 2567
20 มี.ค. 2566